Program‎ > ‎

+ Plenary Talks


ศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน

ศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน

บุตรของพระยานิติศาสตร์ไพศาลและเป็นหลานเขยกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ดร. ศรีศักดิ์ผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจ ด้านราชการ และด้านสมาคมวิชาการ 
ด้านการศึกษา ศ. ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน เป็นคนไทยคนแรกที่จบปริญญาเอก
ด้านคอมพิวเตอร์ โดยจบจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2507 ต่อมา
เป็นผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยมิสซูรี่ เมืองโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา 
เป็นศาสตราจารย์เต็มขั้น (Full Professor) คนไทยคนแรกในสหรัฐ โดยเป็นที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐ นิวยอร์ก หลังจากนั้นกลับประเทศไทยไปเป็นศาสตราจารย์สถิติประยุกต์ หัวหน้าวิชาคอมพิวเตอร์และปัจจุบันเป็น ศาสตราจารย์กิตติคุณ ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นศาสตราจารย์ระดับ 11 วิศวกรรมศาสตร์คนแรกของประเทศไทยโดยเป็นที่ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง เคยเป็นผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการและประธานผู้บริหาร วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ    แล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2555 เป็นอธิการบดีกิตติคุณ นายกสภาวิทยาลัย ประธานสถาบันศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานอาวุโสสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพล ประธานบรรณาธิการอาวุโสวารสารนานาชาติด้านคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และการจัดการ ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
ด้านธุรกิจ ศ. ศรีศักดิ์ จามรมาน เป็นผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทเคเอสซี ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเคยได้รับการตีราคาประมาณ 40,000 ล้านบาท  รัฐบาลไทยส่ง ศ. ศรีศักดิ์ ไปได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสภาธุรกิจอีอาเซียน (Chairman of e-ASEAN Business Council)  
ด้านราชการและรัฐสภา ศ. ศรีศักดิ์  จามรมาน  เป็นข้าราชการระดับสูงสุด คือ ระดับ 11 (ระดับเดียวกับปลัดกระทรวง ระดับเดียวกับจอมพลและสูงกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด) และเคยเป็นรองประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายลิขสิทธิ์ สภาผู้แทนราษฎร
ด้านสมาคมวิชาการ ศ. ศรีศักดิ์ เป็นนายกก่อตั้งสาขาประเทศไทยของสมาคมคอมพิวเตอร์เอซีเอ็ม เป็นนายกก่อตั้งสาขาประเทศไทยของสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นนายกก่อตั้งสมาคมอินเทอร์เน็ตนานาชาติสาขาประเทศไทย เป็นนายกกิตติมศักดิ์สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานอาวุโสมูลนิธิสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา และเป็นนายกสมาคมรวมกว่า 8 สมาคม
ศ. ศรีศักดิ์  จามรมาน ได้รับขนานนามว่าเป็น “บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเซีย” พ.ศ. 2524 และ
มีภาพลงหน้าปกวารสารคอมพิวเตอร์เอเชียตีพิมพ์ในฮ่องกง ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาอินเทอร์เน็ตไทย” 
โดยบางกอกโพสต์และสื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับ  ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย” 
โดยศูนย์ชีวประวัตินานาชาติแห่งเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร เมื่อ พ.ศ. 2549    และ เป็นราชบัณฑิต   แห่งบริเทนใหญ่โดยมีใบประกาศลงพระนามโดยพระอนุชาสมเด็จพระราชินีอังกฤษ
กรุณาดูรายละเอียดได้ที่เว็บ www.charm.au.edu  
ติดต่อได้ที่ charmonman@gmail.com  โทร. 081-621-4526


ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ

ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ

บรรยายพิเศษ 
  • การขอทุนวิจัยจากองค์กร/หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนงานวิจัย
  • การตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
  • จรรยาบรรณนักวิจัย

ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ระดับ 11
หัวหน้ากลุ่มวิจัย Fluid Mechanics, Thermal Engineering and Multiphase Flow Research Lab. (FUTURE)
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
0-2470-9115 โทรสาร 0-2470-9111
somchai.won@kmutt.ac.th

สาขาวิชาที่ทำวิจัย
  • Fluid Mechanics
  • Multiphase Flow
  • Heat-Mass Transfer
  • Thermodynamics
  • Nano-fluids
ประสบการณ์งานวิจัยทั้งภายในและต่างประเทศ
  • งานวิจัยขั้นสูงทางวิศวกรรมการปรับอากาศและการทำความเย็น (ส่งเสริมกลุ่มวิจัย สกว.49)
  • คุณลักษณะการไหลสองสถานะของก๊าซของเหลวและการเพิ่มความสามารถในการถ่ายเทความร้อน (ส่งเสริมกลุ่มวิจัย สกว.46-47)
  • การศึกษาคุณลักษณะการถ่ายเทความร้อนของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อขดเป็นวง
  • การไหลสองสถานะของก๊าซ-ของเหลวภายในช่องวงแหวนแคบของท่อซ้อนร่วมศูนย์กลาง
  • การใช้เทคนิคอิเล็กโตรไฮโดรไดนามิกส์เพื่อการถ่ายเทความร้อนขณะการระเหยและการควบแน่นของสารทำความเย็น -R34a ที่ไหลภายในท่อเรียบและท่อมีครีบเล็กภายใน
  • การเดือดและการควบแน่นของสารทำความเย็น R134a ในท่อทองแดงแบบขดเป็นเกลียว
  • คุณลักษณะการไหลสองสถานะขณะเกิดการเดือดและการระเหยของ nano-fluids 
  • การประยุกต์ใช้สารไฮโดรคาร์บอนผสมกับตู้เย็นที่ใช้ในครัวเรือน
  • รูปแบบการไหลสองสถานะก๊าซ-ของเหลวในท่อสี่เหลี่ยมแคบที่วางในแนวดิ่ง
  • ลักษณะการลดลงของความดันและการถ่ายเทความร้อนในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่น
  • สมรรถนะของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อมีครีบ
  • A solar-powered low temperature differential Stirling engine
  • คุณลักษณะทางการไหลสองสถานะของสารทำความเย็นชนิดใหม่ในท่อขนาดเล็ก 
  • การเพิ่มการถ่ายเทความร้อนและลักษณะการลดลงของความดันของสารทำความเย็นชนิดใหม่ระหว่างการระเหยและการควบแน่น
  • การไหลของสารทำความเย็นผ่านท่อคาปิลลารี ทั้งแบบ Adiabatic และ Nonadiabatic 


ดร. ศิริชัย กิตติวราพงศ์

ดร. ศิริชัย กิตติวราพงศ์

ปัจจุบัน ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการ สวทช.
2540-2555 ผู้จัดการ งานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ (ESI)    
ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม (ITAP)    
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ศจ.)   
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ความเชี่ยวชาญ :  
  • การบริการวิเคราะห์และวางแผนเทคโนโลยีตลอดจนการจัดหาผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการพัฒนากระบวนการผลิต การสร้างผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ทางธุรกิจ
  • การใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ความคิด ระดมสมอง การวางแผน การตัดสินใจ เพื่อพัฒนาธุรกิจ
ประสบการณ์ในการทำงาน การฝึกอบรมและดูงาน :
  • ดูงานโอกาสการลงทุนและสภาพเศรษฐกิจของประเทศพม่าและเวียตนาม (2556)
  • เป็นผู้แทนของสำนักงานฯ ในการให้ความรู้ในด้านการนำเทคโนโลยีและการจัดการเทคโนโลยีไปใช้ในธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
  • ข้าร่วมการบรรยายทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่มในการสัมมนาแนวทางการจัดมาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับภาครัฐในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
  • เข้าร่วมการฝึกอบรมการใช้ Tools ต่างๆ ในการทำงาน คัดเลือก ตัดสินใจ หรือ การคาดการณ์เทคโนโลยี เช่น Technology Roadmapping, Technology Foresight, Delphi, Scenario Planning เป็นต้น
  • ดูงานกิจกรรมการให้บริการทางเทคโนโลยีแก่ภาคเอกชนในต่างประเทศหลายแห่ง เช่น แคนาดา ไต้หวัน เป็นต้น
  • เป็นผู้ร่วมประเมินและกลั่นกรองผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
  • การให้คำปรึกษาในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการดำเนินการธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ มากกว่า 10 ปี
  • เป็นกรรมการกลั่นกรองและตัดสินรางวัล Innovation Award ให้กับหน่วยงานต่างๆ